-
-
-
-
-
video
อาการแบบนี้ ท้อง หรือไม่?
Read moreอาการแบบนี้ ท้องหรือไม่?
.
– ขาดประจำเดือน
– คัดเต้านม
– ปวดถ่วงท้องน้อย
– ประจำเดือนออกนิดเดียว
– ท้องโตขึ้น, มีหน้าท้อง, อ้วนขึ้น
– รู้สึกเหมือนลูกดิ้น
ฯลฯ
.
สำหรับหมอ .. คำตอบมีเพียงคำตอบเดียวค่ะ คือ
>> ตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์ นะคะถ้าตรวจแล้วยังไม่พบว่าตั้ง
ครรภ์ แล้วต้องการทราบในทันที
>> แนะนำพบแพทย์ เพื่อ ตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน หรืออัลตร้าซาวด์ ค่ะ
.
.
อาการของคนท้องระยะแรก จะคล้ายกับ อาการก่อนมีประจำเดือน
(แยกได้ จากการ #ตรวจการตั้งครรภ์)** ไม่มีอาการใดที่บ่งบอกได้ 100% ว่า ตั้งครรภ์ **
.
การตรวจปัสสาวะขึ้น 2 ขีด คือ ท้องแน่ๆ .. แต่จะท้องปกติหรือไม่ ต้องมีการตรวจเพิ่มเติมการตั้งครรภ์ไม่ปกติ เช่น ภาวะท้องลม, ท้องนอกมดลูก, เด็กไม่เจริญเติบโต หรือภาวะแท้งบุตร
>> จะตรวจปัสสาวะขึ้น 2 ขีด ทุกกรณีค่ะ
>> สามารถแยกได้ จากการทำอัลตร้าซาวด์ และตรวจติดตาม
.
.
** ไม่มีการคุมกำเนิดใด ที่สามารถคุมกำเนิดได้ 100% **ไม่ว่าจะเป็น ยากินคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด หรือแม้แต่ผู้ที่ทำหมัน >> ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้
การนับวันปลอดภัย, การหลั่งนอก, การกินยาคุมฉุกเฉิน หรือ การคิดว่ามีเพศสัมพันธ์แล้ว
ไม่ท้อง
>> ไม่ใช่การคุมกำเนิด และ มีโอกาสตั้งครรภ์ ค่ะ
.
.
ดังนั้น .. ถ้ากำลังสงสัยว่าตัวเอง #ท้องหรือไม่
แนะนำ #ตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์ได้เลย นะคะ
.
คลิป: ปัสสาวะขึ้น 2 ขีด ท้องหรือไม่? ท้องหรือแท้ง รู้ได้อย่างไร?
>> https://youtu.be/VziM_HVUiks -
video
อึ” แบบนี้ .. ผิดปกติมั้ย?
Read more“อึ” แบบนี้ .. ผิดปกติมั้ย?
เป็นอีก 1 คำถามที่หมอพบบ่อยที่สุดเลยค่ะ
.
อุจจาระของเด็กแรกเกิด จะมีความแตกต่างกันได้ ในแต่ละวัน .. โดยเฉพาะ #เด็กที่กินนมแม่
สาเหตุหลักเกิดจาก “ปริมาณโปรตีนในน้ำนมแม่”
ที่มีการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเด็ก (เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรม ชาติ) อีกปัจจัย คือ การพัฒนาด้านการย่อยอาหารขอ
งเด็กนั่นเองค่ะ
.
นอกจากนี้ ..
การเปลี่ยนแปลงของ สี, กลิ่น, ความแข็งหรือเหลวของอุจจาระยังขึ้นกับ “อาหาร หรือ ยา” ที่คุณแม่รับประทาน
และขึ้นกับ “ยา หรือ วิตามิน” ที่เด็กได้รับก็ได้ เช่นเดียวกันค่ะ
.
.
#อุจจาระที่ผิดปกติ คือ1. ท้องผูก อึเป็นกระสุน**
>> มักพบในเด็กที่ทานนมผง
>> อาจเกิดจากชงนมผิดอัตราส่วน
>> หากชงนมถูกส่วนแล้ว .. แนะนำลองเปลี่ยนยี่ห้อนมดูนะคะ 2. มีเลือด หรือมูกเลือดปน**
>> เป็นความผิดปกติที่ควรเฝ้าระวัง
>> อาจเกิดจาก “การติดเชื้อในลำไส้”
>> ควรพาพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม**
.
นอกเหนือจากนี้ ..
ไม่ว่าจะ .. สีเปลี่ยน, กลิ่นเพี้ยน, ถ่ายบ่อย หรือมีมูกแต่ไม่มีเลือด** ถ้ายังกินนมได้ดี ไม่มีอาเจียนพุ่ง ไม่มีท้องอืดแน่นจนไม่กินนม
หรือ ไม่มีไข้ร่วมด้วย >> ถือว่า ยังปกติ ** ไม่จำเป็นต้องงดนม หรือเปลี่ยนยี่ห้อนมแต่อย่า
งใด
เคยกินอย่างไร สามารถทานตามปกติได้เหมือนเดิมค่ะ
.
เนื่องจาก .. การตรวจเพื่อวินิจฉัย จำเป็นต้องดูอุจจาระของจริงด้วยตา ไม่สามารถดูจากภาพถ่ายได้ ถ้ามีอาการผิดปกติ หรือ กังวลใจ
>> แนะนำพาน้องพบแพทย์ใกล้บ้านจะดีที่สุดนะคะ
.
.
คลิป: อาการที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด
>> https://youtu.be/leCOpcNALOQ -
video
อายุเยอะแล้วอยากท้อง เสี่ยงอะไร? ควรดูแลตัวเองอย่างไร?
Read moreQ: อายุเยอะแล้วอยากท้อง เสี่ยงอะไร? ควรดูแลตัวเองอย่างไร?
.
A: ในทางการแพทย์ .. การตั้งครรภ์ในอายุตั้งแต่ 35 ปี ถือว่าเป็น “ครรภ์ความเสี่ยงสูง” ค่ะ
ความเสี่ยงสูงในที่นี้ คือ ความเสี่ยงเรื่องอะไรบ้าง..ประเด็นที่กังวลกันมากที่สุ
ด คือ เรื่อง #ดาวน์ซินโดรม นั่นเองค่ะ โอกาสในการเกิดลูกเป็นดาวน์
ซินโดรมนั้น จะสูงขึ้นเรื่อยๆตาม “อายุของคุณแม่” โดยไม่ขึ้นกับกรรมพันธุ์ หรืออายุของคุณพ่อนะคะ
เพียงแต่ .. การที่มีประวัติในครอบครัว มีคนเป็นดาวน์ซินโดรม ความเสี่ยงของเราจะสูงขึ้นม
ากๆ ในทางสถิติ .. คุณแม่ที่อายุ 35 ปี จะมีความเสี่ยงอยู่ที่ 0.5%
แต่สำหรับผู้ที่มีประวัติเค
ยคลอดบุตรเป็นดาวน์ ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเป็น 1% ทันที .
ดาวน์ซินโดรม ไม่มีการป้องกันค่ะ .. ต้องรอให้ตั้งครรภ์ก่อนเท่า
นั้น จึงจะสามารถตรวจได้ แต่ .. ถ้าอยากตั้งครรภ์ และ อยากได้ลูกมีโครโมโซมปกติ (ไม่เป็นดาวน์แน่ๆ) ..
มีเพียง การทำ ICSI หรือ IVF และ ต้องมีการตรวจโครโมโซมก่อนฝังตัวอ่อน เท่านั้นนะคะ .
สำหรับความเสี่ยงอื่นๆที่เก
ี่ยวข้องกับ อายุของคุณแม่ เช่น ครรภ์เป็นพิษ หรือ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เราสามารถป้องกันได้ โดยการฝากครรภ์สม่ำเสมอ. ดูแลตัวเองไม่ให้น้ำหนักขึ้
นมากเกินไป ก็สามารถช่วยได้ค่ะ ซึ่ง .. ในการฝากครรภ์ จะมีการตรวจคัดกรองเบาหวาน ในอายุครรภ์ที่เหมาะสม ตามมาตรฐานของแต่ละสถานพยาบ
าลอยู่แล้ว ^^ .
สนใจตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซิ
นโดรมด้วยการเจาะเลือด ติดต่อได้ทาง Line: @dr.panatdaclinic
.
คลิป: เจาะน้ำคร่ำ/ตรวจดาวน์ซินโดรม
>> https://www.youtube.com/playlist?list=PLoBWtWb9PhFF tKQr6-WOcjekFy9rfpHhx -
video
หลังคลอด “ดื่มกาแฟ” ได้หรือไม่?
Read moreQ: หลังคลอด .. ดื่ม #กาแฟ ได้หรือไม่?
A: ชา/กาแฟ/น้ำอัดลม มีคาเฟอีน ซึ่งสามารถส่งผ่านทางน้ำนมได้ .. แต่ คาเฟอีนที่ร่างกายได้รับ สามารถขับออกได้ทางปัสสาวะค ่ะ
.
หากต้องการดื่มเครื่องดื่มที่มี #คาเฟอีน ..
แนะนำให้จิบทีละน้อย และ ไม่ดื่มระหว่างกำลังปั้ม/ให้นมลูก .. (ควรเว้นระยะห่างประมาณ 1-2 ชม. .. ไม่ต้องปั้มนมทิ้ง** และ ไม่จำเป็นต้องงดให้นมบุตร** ) ให้คุณแม่ สังเกตที่ ..
ถ้าเด็กไม่ยอมนอน และสงสัยว่าเกิดจากคาเฟอีนที่ดื่ม
>> ให้ปรับลดปริมาณคาเฟอีน หรือ เพิ่มระยะห่าง ระหว่างการให้นม กับ การดื่มคาเฟอีนเท่านั้นค่ะ
.
** เครื่องดื่มที่จำเป็นที่สุดระหว่างการให้นมบุตร คือ “น้ำเปล่า” นะคะ ** – ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
– น้ำเปล่า: น้ำเย็น, น้ำอุ่น หรือ น้ำร้อน >> มีประโยชน์พอๆกัน .. เลือกดื่มในแบบที่เราชอบและดื่มได้มาก
.
และ ..
เนื่องจาก “คาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ”
>> แนะนำดื่มน้ำเปล่า เพิ่มขึ้น ด้วยค่ะ
.
หวังว่าจะช่วยคลายความสงสัยและทำให้คุณแม่หลายๆท่านยิ้ มได้ ^^
.
สำหรับ “การดื่มกาแฟ ระหว่างตั้งครรภ์”
รายละเอียดที่ลิงค์นี้ค่ะ
⬇
http://drnoonpanatda.com/2017/index.php/article/ item/60-2018-01-10-13-46-44 -
-
video
“อาการบีบตัวของมดลูก” สังเกตได้อย่างไร?
Read moreQ: “อาการบีบตัวของมดลูก” สังเกตได้อย่างไร?
A: ในอายุครรภ์ตั้งแต่ 24 สัปดาห์ขึ้นไป ..
>> ให้นอนหงาย จับเวลา 1 ชม.
>> วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ไว้ที่หน้าท้องตำแหน่ง สะดือ*
(ไม่ต้องออกแรงกด แค่วางธรรมดา)
>> ถ้ามีมดลูกบีบตัว จะสัมผัสได้ว่าท้องจะตึงมาสัมผัสที่ฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง
.
** ถ้ามีมดลูกบีบเกิน 5 ครั้งใน 1 ชม.
>> เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ควรรีบไปรพ. ค่ะ **
.
.
อาการที่สัมพันธ์ กับ #การบีบตัวของมดลูก ได้แก่
▪ปวดหน่วงบีบๆที่ท้องน้อย มาเป็นพักๆ
▪ปวดคล้าย “ปวดประจำเดือน”
▪ปวดคล้าย “ปวดอุจจาระ” แต่ไปถ่ายก็ไม่หายถ้ามีอาการหลายครั้งใน 1 ชม. หรือ มีอาการต่อเนื่องหลายชม. >> ควรรีบไปรพ. เพื่อตรวจเพิ่มเติมนะคะ
อย่ารอให้มี “เลือดออก” หรือ “น้ำเดิน”
เพราะ จะทำให้ยับยั้งคลอดไม่ทันค่ะ
.
.
คลิป: วิธีสังเกตอาการบีบตัวของมดลูกในแต่ละอายุครรภ์ เพื่อระวังการคลอดก่อนกำหนด
>> https://youtu.be/OKqwSfA9k_M คลิป: อาการปวดท้องในแต่ละไตรมาสเ
กิดจากอะไร? ดูแลตัวเองอย่างไร?
>> https://youtu.be/vSuhB8vE81I